โตโยต้า เทอร์เซล เป็นรถรุ่นหนึ่งของโตโยต้า เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ถูกออกแบบมาจากการผสมผสานสไตล์แบบของรถรุ่น โตโยต้า โคโรลล่า กับรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เลต ซึ่งรถรุ่นนี้แบ่งออกเป็น 5 โฉม ตามช่วงระยะเวลา ซึ่งในโฉมที่ 1-4 ไม่เป็นที่รู้จักของคนไทย แต่เมื่อถึงโฉมที่ 5 คนไทยรู้จักรถรุ่นนี้มากขึ้น เพราะโตโยต้า นำรถรุ่นนี้มาดัดแปลงลักษณะรถเล็กน้อย และขายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า
จนถึงรุ่นปี พ.ศ. 2524 ได้มีการผลิตตัวถัง sedan 4 ประตู ทำให้เทอร์เซลขณะนี้ มีตัวถัง 3 แบบ และเปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็นเครื่องชนิด 62 แรงม้า
รถรุ่นนี้ขับเคลื่อนล้อหน้าตั้งแต่โฉมแรก มีระบบเกียร์ขาย 3 ระบบ คือ เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด , เกียร์ธรรมดา 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด
โฉมที่ 2 นี้ มีเครื่องยนต์อยู่ด้านหน้าเหมือนเดิม แต่ได้เพิ่มการผลิตระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ควบคู่กับการผลิตระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ 4 แบบ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด , ธรรมดา 4 สปีด , ธรรมดา 5 สปีด , ธรรมดา 6 สปีด แล้วแต่รุ่นของรถจะเข้าได้กับระบบเกียร์แบบใด
โฉมที่ 3 นี้ ถูกออกแบบให้รถมีขนาดใหญ่ขึ้น และความหรูหรามากขึ้น แต่ใช้งานได้ง่ายและประหยัด มีเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร 12 วาล์ว 78 แรงม้า ขับเคลื่อนล้อหน้า หรือระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ แต่ขับเคลื่อนสี่ล้อในโฉมนี้นั้นหายาก เนื่องจากมีผู้ซื้อใช้ไม่มากนัก
โฉมนี้ มีรถรุ่นหนึ่งซึ่งหายากมาก แม้แต่บางประเทศที่มีรถเทอร์เซลมากยังหาได้ยาก คือรุ่น Tercel Deluxe เป็นรถ liftback 4 ประตู ผลิตระหว่างรุ่นปี 2530-2532
โฉมนี้ ถูกออกแบบมาโดยผสมผสานเทคโนโลยีรถสปอร์ตเข้าไป และใช้รูปทรงรถแบบแอโรไดนามิค มีเครื่องยนต์ 3E-E 1.5 ลิตร 82 แรงม้า ขับเคลื่อนล้อหน้า (ขับเคลื่อนสี่ล้อก็ยังมี แต่หายาก มีเฉพาะในบางประเทศ)
มีตัวถัง 3 แบบ คือ sedan 2 ประตู , hatchback 3 ประตู และ sedan 4 ประตู มี 3 ระบบเกียร์คือ อัตโนมัติ 3 สปีด , ธรรมดา 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด แล้วแต่รุ่นรถ
ถึงรุ่นปี 2536 ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยใส่ถุงลมนิรภัยลงในที่นั่งคนขับ และใส่ระบบเบรก anti-lock และปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศในรถเป็นระบบแบบไร้สาร CFC ทำให้รถเทอร์เซลรุ่นปี 2536 เป็นต้นไป มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โฉมนี้ เป็นโฉมแรก และโฉมเดียวของเทอร์เซล ที่โด่งดังในประเทศไทย โดยโฉมนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยทางด้านหน้าและท้ายรถ แล้วนำมาขายในไทยในชื่อว่า โตโยต้า โซลูน่า (Toyota Soluna) ชื่อ Soluna เป็นคำผสมในภาษาสเปน Sol แปลว่าพระอาทิตย์ และคำว่า Luna ที่แปลว่าพระจันทร์ เป็นคู่แข่งกับ ฮอนด้า ซิตี้ ในสมัยนั้น
โฉมนี้ ได้ใส่ถุงลมนิรภัยในที่นั่งคนขับและผู้โดยสาร(โฉมก่อนมีถุงลมเฉพาะด้านคนขับ) ขับเคลื่อนล้อหน้า มีตัวถัง 3 แบบ คือ coupe 2 ประตู , hatchback 3 ประตู และ sedan 4 ประตู ระบบเกียร์อัตโนมัติ 3-4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 4-5 สปีด
โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้เครื่องยนต์ DOHC 1.5 ลิตร 93 แรงม้า รุ่นแรกๆ กับรุ่นท้ายๆ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยในด้านหน้าและท้ายรถที่ต่างกัน ซึ่งโซลูน่าในไทยก็เช่นกัน เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2540 และได้สร้างกระแสจนโด่งดัง ด้วยการทุบสถิติยอดจองในวันเปิดตัว 3 วัน 10,000 คัน แซงหน้ายอดจองของ Honda Civic 3 ประตู ในปี พ.ศ. 2536 ที่ 3 วันทำได้ 9,000 คัน และมีมรกต โกมลบุตรเป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงแรก โฉมในไทยนี้มีตัวถังเพียงแบบเดียวคือ sedan 4 ประตู มีทั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดและเกียร์ธรรมดา 5 สปีด จะมีความแตกต่างในด้านรายละเอียดปลีกย่อยบ้างในระหว่างรุ่นแรกๆ กับรุ่นท้ายๆ โดยโซลูน่ารุ่นแรกของโฉม ตลาดรถไทยเรียกว่า "โซลูน่าโฉมแรก" ส่วนรุ่นท้ายๆ ของโฉม โซลูน่าในไทยมักถูกเรียกว่า "โฉมไฟท้ายหยดน้ำ" โดยไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2542 และเลิกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 หลังจากไมเนอร์เชนจ์แล้วไม่สามารถทำยอดขายชนะ Honda City Type Z ที่ออกมาในช่วงเวลาเดียวกันได้
หลังจากเทอร์เซลโฉมที่ 5 (โซลูน่า) โด่งดังได้ไม่กี่ปี โตโยต้าก็เลิกผลิตรถรุ่นเทอร์เซล โดยจะใช้การผลิตรถรุ่น โตโยต้า วีออส เข้ามาแทนที่รถรุ่นเทอร์เซล ซึ่งจนถึงปัจจุบัน รถวีออส ก็ก้าวมาเป็นอันดับต้นๆ ของรถยนต์ที่โด่งดังของโตโยต้า